การศึกษาวิจัยใหม่เกี่ยวกับนักดับเพลิงแสดงให้เห็นถึงการดูดซึมสารอันตรายผ่านทางผิวหนัง
การถอดชุดทนไฟ(ชุดผจญเพลิง)ทันทีหลังจากการดับเพลิงสามารถลดการซึมผ่านผิวหนังของสารก่อมะเร็ง, ตามการวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัยออตตาวา
ไข้ไอโลหะเป็น,โรคทางเดินหายใจ ซึ่งโลหะหนักอาจเข้าร่างกายได้โดยการสูดฝุ่นละอองที่มีโลหะหนักผสมอยู่ สูดไอโลหะที่ระเหยขณะได้รับความร้อนสูง โลหะซึมผ่านผิวหนัง การกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีโลหะหนักปนเปื้อน ในแง่ของการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ คนทำงานมักได้รับโลหะเข้าร่างกายจากการสูดดมไอโลหะ เช่น ขณะควบคุมการหลอมโลหะและการบัดกรีหรือเชื่อมโลหะ รวมทั้งการใช้มือเปล่าจับโลหะตลอดเวลาในขณะทำงานเหล่านี้ ขณะที่ประชาชนทั่วไปมีโอกาสรับโลหะหนักจากการสูดฝุ่นละอองหรือการกินอาหารที่มีโลหะหนักปนเปื้อน ซึ่งไข้ไอโลหะนี้ อาจมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น copper fever, brazier’s disease, welder’s ague, foundry fever, brass chills and spelter shakes.
ช่างเชื่อมโลหะโดยปกติจะสัมผัสกับสารที่มาจากแร่โลหะ, โลหะที่ชุบหรือเคลือบผิวโลหะ หรือ การแต่งเติมโลหะ อันเป็นสาเหตุของการเกิดไข้ไอโลหะ
การประสานและการบัดกรียังสามารถทำให้เกิดโรคพิษโลหะเนื่องจากการสัมผัสกับตะกั่ว, สังกะสี, ทองแดงหรือแคดเมียม ในกรณีที่รุนแรง แคดเมียม (พบบางส่วนในสมัยก่อนโลหะเงินผสม) สามารถทำให้หมดสติได้
สัญญาณและอาการของโรค โดยทั่วไปจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น หนาวสั่น, ปวดกล้ามเนื้อ, เจ็บหน้าอก, ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ, การรับรสเปลี่ยนไปเหมือนมีโลหะในปาก,ภาวะเม็ดเลือดขาวมาก, ปวดหัว, เมื่อยล้าและอ่อนเพลีย รสชาติหวานหรือรสโลหะในปากอาจมีพร้อมกับอาการคอแห้งหรือระคายเคือง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการเสียงแหบ อาการของความเป็นพิษของโลหะที่รุนแรงมากขึ้น อาจจะมีอาการแสบร้อนในร่างกาย, ช็อก, ปัสสาวะไม่ออก, หมดแรง, ชัก, หายใจถี่, ตาเหลืองหรือผิวเหลือง, ผื่น, อาเจียน, ท้องเสียหรือถ่ายปนเลือด หรือความดันเลือดต่ำหรือสูง ซึ่งต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ปกติจะหายไปภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง การหายเป็นปกติต้องใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์
เป็นส่วนที่ทำได้ยาก, เพราะอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางครั้ง, เซลล์เม็ดเลือดขาวลดลง, และในบางกรณี, จะพบสารสังกะสีเพิ่มขึ้นในปัสสาวะและเลือด
อาการยังมีลักษณะคล้ายกับโรคปกติอื่น ๆซึ่งเป็นการเพิ่มความยากในการวินิจฉัยโรคผ่านการตรวจร่างกายตามปกติ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตรวจสอบประวัติของผู้ป่วย ประวัติการทำงาน, ลักษณะงาน เคยทำในสภาพแวดล้อมที่มีสารโลหะ หรือไม่ ฯลฯ
วิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นไข้ไอโลหะคือการปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้
การระบายอากาศ: ในระหว่างการเชื่อม การระบายอากาศเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการขจัดอันตรายจากควันเชื่อมหรือออกไซด์ในอากาศ
ควันเชื่อมมีขนาดเล็กกว่าฝุ่นและลอยตัวอยู่ในอากาศค่อนข้างนาน การทำให้อากาศสะอาดปราศจากการปนเปื้อน เพื่ออากาศบริสุทธิ์ในการหายใจ ควรติดตั้งระบบระบายและกรองอากาศ
แหล่งที่มา:
เรายินดีที่จะช่วยเหลือ!