การศึกษาวิจัยใหม่เกี่ยวกับนักดับเพลิงแสดงให้เห็นถึงการดูดซึมสารอันตรายผ่านทางผิวหนัง
การถอดชุดทนไฟ(ชุดผจญเพลิง)ทันทีหลังจากการดับเพลิงสามารถลดการซึมผ่านผิวหนังของสารก่อมะเร็ง, ตามการวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัยออตตาวา
กรณีล่าสุด(ต้นเดือนกุมภาพันธ์ปี 2019) เกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนของพนักงานจำนวน 800 คนที่ได้รับสารเฮกซะวาเลนท์โครเมียมที่เป็นอันตรายจากโรงปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ (กรม NedTrain)ในเมืองทิวเบิร์ค (ประเทศเนเธอร์แลนด์), ได้เพิ่มจุดสนใจในอันตรายของสารชนิดนี้ขึ้นมาอีกครั้ง
เทศบาลเมืองทิวเบิร์คต้องจ่ายเงินรวมกว่า 10 ล้านยูโรให้กับผู้ที่ได้รับสารเฮกซะวาเลนท์โครเมียมและมีอาการเจ็บป่วย,ที่ทำงานในโรงปฏิบัติงานของการรถไฟเนเธอร์แลนด์
โลหะโครเมียมถูกใช้ในโลหะผสมเหล็กมากมายเพื่อทำให้วัสดุแข็ง และทำให้คงทนต่อการกัดกร่อน ตัวของโลหะโครเมียมเองไม่อันตรายมาก, แต่ในระหว่างการเชื่อมหรือเจียรโลหะจะถูกออกซิไดซ์ให้กลายเป็นสารเฮกซะวาเลนท์โครเมียมที่เป็นอันตราย สารนี้ยังถูกใช้ในสีบางชนิดและการเคลือบผิวเพื่อป้องกันการกัดกร่อน ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับสารนี้คือกล่มุที่ทำการขูดสีเฉพาะนี้ออกจากรถไฟเก่า การรถไฟเนเธอร์แลนด์ถูกกล่าวโทษในฐานะที่รู้ว่าสีชนิดนี้ถูกใช้ทาบนรถไฟแต่ไม่เคยแจ้งแก่เทศบาลเมืองทิวเบิร์ค “เป็นที่น่าตกใจ”, ผู้ทำการสืบสวนได้ทำการสรุป, มุ่งประเด็นไปที่ NedTrain และเทศบาลเมืองทิวเบิร์คที่ไม่ได้ทำการตรวจสอบใดๆเลย
ดูเหมือนว่าโครเมียมกลุ่มประจุ 6 จะไม่เพียงแต่พบในสีและวัสดุเคลือบผิวเท่านั้นแต่ยังพบได้ในควันเชื่อมบางชนิด ซึ่งนั่นหมายความว่า ความเสี่ยงต่อสุขภาพอาจจะมีมากกว่าที่คิด
ในระยะสองสามปีที่ผ่านมา, ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารเฮกซะวาเลนต์โครเมียม (โครเมียมกลุ่มประจุ 6) ในควันเชื่อมถูกทำให้ปรากฏมากขึ้น
มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ, ตับ, ไต, ผิวหนัง จมูก และตา, และเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นสารทำให้เกิดโรคมะเร็งและ COPD1 คนงาน2 ประมาณ 400,000 คนในเนเธอร์แลนด์ที่ต้องทำงานเป็นประจำในสภาวะที่มีควันเชื่อม
มีหลากหลายวิธีที่จะอธิบายถึงสารตัวนี้ ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า โครม 6 หรือโครเมี่ยมประจุบวก 6, โครเมียม VI หรือสั้นๆ Cr(VI) ชื่อแบบยาวก็คือเฮกซะวาเลนต์โครเมียม ชื่อโครเมียมมาจากภาษากรีกคำว่า 'โครมา' ซึ่งหมายถึงสี ในรูปแบบของแร่ธาตุ, ได้ถูกนำมาใช้เป็นเม็ดสีตั้งแต่ศตวรรษที่ 18
โครเมียมมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีสามรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุด คนส่วนใหญ่จะรู้จักโลหะโครเมียม หรือ โครเมียมกลุ่มประจุ 0, จากวัสดุเคลือบผิวบนก๊อกน้ำในห้องน้ำและสิ่งที่คล้ายคลึงกัน, หรือเคลือบบนผิวรถคลาสสิก และบนโลหะผสมต่าง ๆ
โครเมียม (III) หรือโครเมียมกลุ่มประจุ 3 เป็นองค์ประกอบธรรมชาติที่พบได้ในหิน, สัตว์ และพืช ในปริมาณที่น้อย, จริงๆแล้วถือเป็นสารอาหารจำเป็นเพื่อใช้สำหรับการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
Cr (VI) หรือเฮกซะวาเลนต์โครเมียม เป็นโครเมียมรูปแบบที่อันตราย ซึ่งสามารถสูดดมหรือกลืนกินเข้าไปได้, แต่ก็ยังสามารถซึมผ่านเข้าไปในผิวหนังและก่อให้เกิดโรคได้
เมื่อเฮกซะวาเลนต์โครเมียมออกไซด์ละลายในน้ำ, จะเปลี่ยนเป็นโครเมียมกลุ่มประจุ 3 ซึ่งจะเกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์
สิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายจากกระบวนการนี้จะขึ้นอยู่กับแหล่งที่เกิด: ภายในหรือภายนอกเซลล์
เมื่อการเปลี่ยนไปสู่โครเมียมกลุ่มประจุ 3 เกิดขึ้นภายในเซลล์, เซลล์อาจถูกทำลายได้, ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาต่อสุขภาพมากมาย อันตรายเหล่านี้รวมไปถึงความเสียหายต่อดีเอ็นเอ, ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ตัวเองและโรคมะเร็ง
หากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายนอกเซลล์, เช่น เหงื่อหรือกรดในกระเพาะอาหาร, กระบวนการเหล่านี้ไม่เป็นอันตราย
แต่,ถ้ามีเฮกซะวาเลนต์โครเมียมออกไซด์มากในสถานที่ทำงาน, ก็มีโอกาสมากขึ้นที่เฮกซะวาเลนต์โครเมียมจะเข้าสู่เซลล์และทำลาย ดังนั้น, การสัมผัสที่มากขึ้น, โอกาสที่คุณอาจจะกลายเป็นเหยื่อของโครเมี่ยมกลุ่มประจุบวก 6 ก็มีมากขึ้นเช่นกัน
การสัมผัสกับสารเฮกซะวาเลนท์โครเมียมในควันเชื่อมส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับการเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิม
แต่ไม่ได้หมายความว่าจำกัดเพียงแค่วัสดุชนิดนี้
โดยปกติ, โครเมียมจะไม่ถูกผสมเข้ากับเหล็กชนิดอื่นๆ, แต่อาจมีอยู่ในระดับต่ำ, เนื่องจากการใช้เศษเหล็กในกระบวนการผลิต
ซึ่งจะพบการสัมผัสกับควันเชื่อมได้ในหลายภาคส่วน
คนงานในอุตสาหกรรมโลหะ, อู่ต่อเรือ, การก่อสร้าง และภาคการขนส่งมีความเป็นไปได้ที่จะตกเป็นเหยื่อในระดับต้นๆ
ช่างเชื่อมโลหะไม่ได้เป็นคนเดียวที่ได้รับผลกระทบจากอันตรายของสารเฮกซะวาเลนท์โครเมียม
คนงานอื่น ๆ ในภาคดังกล่าวข้างต้นก็มีความเสี่ยงเช่นกัน
สีที่มีโครเมียม VI เป็นส่วนผสมถูกใช้อย่างแพร่หลายเพื่อใช้ในการปกป้องอุปกรณ์ทางการทหาร ในปีที่ผ่านมา, กระทรวงกลาโหมดัตช์ ได้รายงานเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคนงานที่มีการใช้สารเฮกซะวาเลนท์โครเมียม เมื่อมีการตรวจพบสารเฮกซะวาเลนท์โครเมียมในขณะที่ทำงานกับอุปกรณ์หรืออาคาร, จะต้องมีการทำรายงาน, และจะต้องมีการดำเนินการมาตรการที่เพียงพอ รายงานและมาตรการทั้งหมดจะถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยทางกรม
สารอันตรายยังสามารถสร้างผลกระทบต่อโครงสร้างถนนหนทาง โครงการซ่อมแซมสะพานทางหลวงขนาดใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้เวลานานมากกว่าที่ควร และมีผลกระทบต่อการจราจรมากกว่าที่วางแผนไว้ ซึ่งสามารถกล่าวโทษสารเฮกซะวาเลนท์โครเมียมที่พบในสีและมาตรการป้องกันที่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่สัญจรผ่านไปมา
ในประเทศเนเธอร์แลนด์ความเข้มข้นสูงสุดที่อนุญาตสำหรับเฮกซะวาเลนท์โครเมียมคือ 1 ไมโครกรัม / ลูกบาศก์เมตร
สำหรับค่าขีดจำกัดเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานคิดที่ 8 ชั่วโมงต่อวันหรือ 40 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์,
สำหรับควันเชื่อมโดยทั่วไปคือ 1 มิลลิกรัม / ลูกบาศก์เมตร
ในสหรัฐอเมริกาคำแนะจะเข้มงวดมากกว่า NIOSH แนะนำว่าการสัมผัสกับอากาศที่ปนเปื้อนสารโครเมียมกลุ่มประจุ 6 ควรมีการจำกัดความเข้มข้นที่ 0.2 ไมโครกรัมของสาร Cr(VI) / ลูกบาศก์เมตร สำหรับค่าขีดจำกัดเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานคิดที่ 8 ชั่วโมงต่อวันหรือ 40 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์3
เพื่อให้แน่ใจว่าคนงานของคุณจะไม่ได้สัมผัสกับสารที่เป็นอันตรายจำนวนมาก, คุณต้องใช้การระบายและการกรองไอเสียอย่างเพียงพอในพื้นที่การทำงานของคุณ ซึ่งไม่เพียงแต่นำไปใช้กับช่างเชื่อม, แต่ยังรวมถึงคนงานที่ทำงานด้านอื่น ๆ เช่น การตัด, เจียรและขัด, หรือแม้กระทั่งคนขับรถยก, คนงานซ่อมบำรุงและผู้นำทีม
โปรดสังเกตเพื่อใช้สำหรับกิจกรรมการเชื่อม, การตัด, การเจียรและการขัด คนงานจะใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) เช่น หมวกนิรภัยสำหรับเชื่อม PersonalPro การตรวจสอบการบริการและการบำรุงรักษาเป็นประจำ (เช่น การเปลี่ยนตัวกรอง) ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้ระบบการดูด/สกัดของคุณทำงานได้อย่างเหมาะสม
เมื่อมาถึงการใช้สีและสารเคลือบ, วิธีการที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการทำงานกับเฮกซะวาเลนท์โครเมียม ในบางพื้นที่ของการทำงาน, ก็ไม่สามารถทำได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้การตรวจวัดที่เหมาะสมและให้แน่ใจว่าคนงานทุกคนใช้ทุกวิธีการที่จำเป็น -การระบายอากาศและการป้องกันส่วนบุคคล- เพื่อป้องกันตัวเองและลดความเสี่ยงต่อสุขภาพใด ๆก็ตาม
มีมาตรฐานสากลซึ่งมีการจัดลำดับความสำคัญในการที่ควันเชื่อมจะต้องถูกดักจับ อันดับแรกคือการลดหรือการหลีกเลี่ยงการผลิตควันเชื่อม ประการที่สองการดักจับควันเชื่อมจากแหล่งตันกำเนิด จากนั้นจึงทำการแยกออกจากแหล่งที่มาและมนุษย์โดยอัตโนมัติ เช่น เครื่องดูดควันสกัดบนตัวหุ่นยนต์เชื่อม หากวิธีการก่อนหน้านี้เป็นไปไม่ได้หรือไม่เพียงพอ, เช่นเพราะชิ้นงานขนาดใหญ่, การระบายอากาศทั่วไปและการป้องกันส่วนบุคคลควรนำมาใช้
แต่สิ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน คือ การใช้อุปกรณ์การสกัดเหล่านี้อย่างถูกต้องโดยคนงานและมีการบำรุงรักษาระบบโดยนายจ้างเพื่อให้การสกัดมีประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็น
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อเราหรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของเรา
ที่มา:
1) https://www.osha.gov/hexavalent-chromium/health-effects
2) https://www.arboportaal.nl/onderwerpen/lasrook/documenten/publicatie/2018/05/07/factsheet-lasrook
3) https://www.cdc.gov/niosh/docs/2013-128/pdfs/2013_128.pdf
เรายินดีที่จะช่วยเหลือ!