ในสถานประกอบการ เช่น อู่รถ, สถานีรถประจำทาง, ท่าเรือข้ามฟากและคลังสินค้า มีมลพิษจำนวนมาก, ที่เกิดจากเครื่องยนต์ดีเซลในยานพาหนะ เครื่องยนต์จะผลิตก๊าซพิษและฝุ่นละออง, ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพที่
ร้ายแรงและมาตรฐานตามกฎหมาย ถึงแม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่าควันดีเซลเหล่านี้มีความเป็นพิษและจะต้องมี
มาตรการป้องกัน, แต่ก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการที่ตายตัว
สิ่งตีพิมพ์ล่าสุดในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ “เดอะการ์ดเดียน” ขีดเส้นใต้ตัวเข้ม, ในหัวข้อ
“กฎหมายของสหราชอาณาจักรขยายข้อเรียกร้องเกี่ยวกับค่าขีดจำกัดการสัมผัสสารเคมีในที่ทำงาน
ไปจนถึงควันพิษดีเซล”
“เช่นเดียวกับแร่ใยหินในช่วงทศวรรษที่ 1930”
บทความที่ปรากฎคือข้อกล่าวหาของลูกจ้างของรอยัลเมล์ ผู้ซึ่งเป็นพนักงานที่ทำงานในสถานีรถสาขาใหญ่ ที่ซึ่งเขากล่าวว่าเขาได้สัมผัสมลพิษไอเสียดีเซลทุกวันวันละแปดชั่วโมงต่อกะ
เขากล่าวว่า การสัมผัสนั้นนำเขาไปสู่การพัฒนาการเป็นโรคหอบหืด, และเขายังมีหลักฐานทางการแพทย์เพื่อยืนยันข้อกล่าวหาของเขา
ข้อเรียกร้องทางกฎหมายไม่ใช่เรื่องบังเอิญ, ตามคำกล่าวของ แดน เชียร์
ผู้อำนวยการสหภาพเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของ GMB ที่กล่าวว่า: "เราเชื่อมั่นว่ามันเป็นปัญหาที่สำคัญ
นอกจากนี้อาจเกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนโดยไม่จำเป็นที่ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร, ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการสัมผัสเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ซึ่งตอนนี้เรากำลังเผชิญเกี่ยวกับน้ำมันดีเซลเช่นเดียวกันกับสถานการณ์แร่ใยหินในช่วงทศวรรษที่ 1930” นอกจากนี้ Unite, สหภาพการค้าที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร, ยังแถลงอีกว่าการสัมผัสกับควันดีเซลก็เหมือนกับระเบิดเวลาที่รอการระเบิด
ควันดีเซลคืออะไร
การปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซล (ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น 'ควันดีเซล’)
มีส่วนผสมของก๊าซ, ไอระเหย, ละอองของเหลวและสารที่สร้างขึ้นจากอนุภาค ซึ่งประกอบด้วยสารที่เกิดจากการเผาไหม้รวมถึง:
- คาร์บอน (เขม่า)
- ก๊าซไนโตรเจน
- น้ำ
- คาร์บอนมอนอกไซด์
- แอลดีไฮด์
- ออกไซด์ของไนโตรเจน
- ออกไซด์ของซัลเฟอร์
- พอลิไซคลิกแอโรแมติกไฮโดรคาร์บอน
อนุภาคคาร์บอนหรือเขม่าประกอบด้วยขนาดอนุภาคที่แตกต่างกันตั้งแต่ 60% ถึง 80% ขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิงที่ใช้และประเภทของเครื่องยนต์ สารปนเปื้อนส่วนใหญ่จะถูกดูดซับเข้าสู่เขม่า เครื่องยนต์เบนซินจะก่อให้เกิดคาร์บอนมอนอกไซด์มากกว่าแต่มีเขม่าน้อยกว่าเครื่องยนต์ดีเซล
ปริมาณและองค์ประกอบ
ปริมาณและองค์ประกอบของควันดีเซลในสถานที่ทำงานของคุณอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ:
- คุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลที่ใช้
- ประเภทของเครื่องยนต์ เช่น มาตรฐาน, เทอร์โบ หรือ หัวฉีด
- สถานะของการปรับแต่งเครื่องยนต์
- การตั้งค่าการปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง
- ความต้องการของปริมาณงานต่อเครื่องยนต์
- อุณหภูมิของเครื่องยนต์
- เครื่องยนต์ได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
อันตรายต่อสุขภาพ
การหายใจภายใต้ควันดีเซลสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการสัมผัสกับควันยังสามารถก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อดวงตา หรือทางเดินหายใจ ผลเหล่านี้โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในระยะสั้นและจะหายไปเมื่อออกจากแหล่งที่ได้รับการสัมผัสอย่างไรก็ตาม, การสัมผัสกับควันดีเซลติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน, โดยเฉพาะอย่างยิ่งควันสีน้ำเงินหรือสีดำ, อาจนำไปสู่อาการไอ, โรคเกี่ยวกับทรวงอกและหอบ มีหลักฐานว่าการสัมผัสกับควันดีเซลอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะประมาณ 20 ปีอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด การสัมผัสกับไอเสียเครื่องยนต์เบนซินที่ปล่อยออกมาไม่ได้มีความเสี่ยงเช่นเดียวกันนี้
มาตรการที่จะต้องดำเนินการ
เพื่อป้องกันอันตราย,ผู้ประกอบการควรมีมาตรการดำเนินงานหน่วยงานสุขภาพและความปลอดภัยทั่วโลกมีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปกป้องคน, ที่ทำงานในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยควันดีเซลทุกชนิด เช่น หน่วยงาน HSE ของอังกฤษ (ผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลความปลอดภัยและสุขภาพจากการทำงานของพนักงาน)
ได้ให้คำแนะนำอย่างแข็งขันในเรื่องของมาตรการควบคุมที่เฉพาะเจาะจงร่วมกันหลายชนิด เช่น:
- พัดลมดูดอากาศในที่ทำงาน
- ระบบการสกัดไอเสียบริเวณปลายท่อ
- การใช้ตัวกรองที่ติดตั้งบริเวณปลายท่อไอเสีย
- เครื่องฟอกไอเสีย
นอกจากนี้มาตรการควบคุมที่กล่าวมาแล้ว,ผู้ประกอบการยังควรแน่ใจว่า
- การควบคุมทางวิศวกรรมที่ใช้อยู่มีการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
- ในบริเวณที่จำเป็น, การสัมผัสกับควันดีเซลจะต้องถูกตรวจสอบ
- พนักงานจะต้องได้รับข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการสัมผัสกับควันดีเซล
- พนักงานจะต้องได้รับการชี้แนะและการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้งานอย่างปลอดภัยของมาตรการควบคุมและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลต่าง ๆ ที่ทำการใช้อยู่
แหล่งที่มา: The Guardian “UK legal claims grow over exposure at work to toxic diesel fumes” (16 September 2017).